วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ยาเหลืองปิดสมุทร


ยาเหลืองปิดสมุทร

ข้อบ่งใช้ :        บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น
ขนาดและวิธีใช้: 
ชนิดผงและชนิดเม็ด (แบบอัดเปียก)
ผู้ใหญ่ 
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 3 – 5 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก
อายุ 3 – 5 เดือน     รับประทานครั้งละ 200 มิลลิกรัม
อายุ 6 – 12 เดือน   รับประทานครั้งละ 300 – 400 มิลลิกรัม
อายุ 1 – 5 ขวบ      รับประทานครั้งละ 500 – 700 มิลลิกรัม
อายุ 6 – 12 ปี        รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม
ละลายน้ำกระสายยา ทุก 3 – 5 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาที่ใช้ 
ใช้น้ำเปลือกลูกทับทิมหรือเปลือกแคต้ม แทรกกับน้ำปูนใสเป็นน้ำกระสายยา สำหรับเด็กเล็กให้บดผสมกับน้ำกระสายยา ใช้รับประทานหรือกวาดก็ได้
ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี
รับประทานครั้งละ 800 มิลลิกรัม – 1 กรัม เมื่อมีอาการ
ผู้ใหญ่
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 3 – 5 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ข้อควรระวัง : ใช้ไม่เกิน 1 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

ยาขมิ้นชัน


ยาขมิ้นชัน

ข้อบ่งใช้ :        บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้ :      ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้
ข้อควรระวัง:
-                   ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
-                   ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
-                   ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย

-                   ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
-                   ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6
-                   ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว
อาการไม่พึงประสงค์ :  ผิวหนังอักเสบจากการแพ้
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

ยาฟ้าทะลายโจร


ยาฟ้าทะลายโจร
ข้อบ่งใช้:
1. บรรเทาอาการเจ็บคอ
2. บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ขนาดและวิธีใช้ :   บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ รับประทานครั้งละ 1.5 – 3 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้:
1.      ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร
2.      ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดทารกวิรูปได้
3.      ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
    – ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
    – ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group
    – ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
    – ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น  มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น
ข้อควรระวัง :   
-                   หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรงหากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์
-                   ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
-                   ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือดเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
-                   ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 1A2, CYP 2C9 และ CYP 3A4
อาการไม่พึงประสงค์ : อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

ยาพญายอ


ยาพญายอ

ยาครีม ยาโลชัน สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ยาโลชัน (รพ.) สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ยาทิงเจอร์ (รพ.)
ตัวยาสำคัญ :     สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau]
รูปแบบ/ความแรง:
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau] โดยมีปริมาณแตกต่างกันตามรูปแบบยาดังนี้
1. ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 4 – 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5 – 4 โดยน้ำหนัก (w/w)
3. ยาโลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก (w/w)
4. ยาขี้ผึ้ง ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอ ร้อยละ 4 – 5 โดยน้ำหนัก (w/w)
5. ยาทิงเจอร์ ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอสด ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)
ข้อบ่งใช้:
1. ยาครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด
2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด
3. ยาโลชัน บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน
4. ยาขี้ผึ้ง บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย
5. ยาทิงเจอร์ บรรเทาอาการของเริม และงูสวัด
ขนาดและวิธีใช้ : ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ


ยาบัวบก

ยาบัวบก

ข้อบ่งใช้ :         แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช้ำใน
ขนาดและวิธีใช้ : 
ชนิดชง รับประทานครั้งละ 2 – 4 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ชนิดแคปซูล
รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ข้อห้ามใช้ :       ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae)
ข้อควรระวัง:
-                   ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
-                   หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
-                   หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ป่วยบางราย
-                   ควระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
-                   บัวบกอาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และทำให้ประสิทธิผลของยาลดน้ำตาลและยาลดคอเลสเตอรอลลดลง
-                   ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19
อาการไม่พึงประสงค์ : ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง มวนท้อง ท้องอืด และปัสสาวะบ่อย
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุยุ

ยามะระขี้นก


ยามะระขี้นก
ข้อบ่งใช้ :         แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร
ขนาดและวิธีใช้ :
ชนิดชง 
รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ข้อห้ามใช้ :       ห้ามใช้ในเด็กหรือหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักได้
ข้อควรระวัง:
-                   ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
-                   หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
-                   ควรระวังการใช้ ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (Oral Hypoglycemic Agents) อื่น ๆ หรือร่วมกับการฉีดอินสุลิน เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันได้
-                   ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้การเกิดตับอักเสบได้
อาการไม่พึงประสงค์ :     คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือปลายเท้า hypoglycemic coma อาการชักในเด็ก ท้องเดิน ท้องอืด ปวดศีรษะ และอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ gamma-glutamyl transferase และ alkaline phosphatase ในเลือดได้
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

ยาผสมเถาวัลย์เปรียง


ยาผสมเถาวัลย์เปรียง

ข้อบ่งใช้  :        บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้ง 900 มิลลิกรัม – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
ข้อห้ามใช้ :       ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ข้อควรระวัง :
-                   ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากเถาวัลย์เปรียงมีกลไกออกฤทธิ์ เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs)
-                   การใช้ยานี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร
อาการไม่พึงประสงค์ : ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง และใจสั่น
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

ยาสหัศธารา


ยาสหัศธารา
ข้อบ่งใช้  :        ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ
ขนาดและวิธีใช้ : รับประทานครั้งละ 1 – 1.5 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
 ข้อห้ามใช้ :      ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้
ข้อควรระวัง:
-                   ควรระวังการบริโภคในผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง      โรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก และกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
-                   ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได
-                   ควรระวังการใช้ ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง
อาการไม่พึงประสงค์ : ร้อนท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ คอแห้ง ผื่นคัน
การเก็บรักษายา:
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

 


ยาหอมเทพจิตร


ยาหอมเทพจิตร
ข้อบ่งใช้ :         แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
ขนาดและวิธีใช้ :
-          ชนิดผง  รับประทานครั้งละ 1 – 1.4 กรัม ละลายน้ำสุก เมื่อมีอาการ ทุก 3 – 4 ชั่วโมง ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง
-         ชนิดเม็ด รับประทานครั้งละ 1 – 1.4 กรัม เมื่อมีอาการ ทุก 3 – 4 ชั่วโมง ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง
ข้อควรระวัง :
-                ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
-                   ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้
-                   ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้

ยาผสมเพชรสังฆาต


ยาผสมเพชรสังฆาต
ข้อบ่งใช้ :        บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก
ขนาดและวิธีใช้ :          - รับประทานครั้งละ 1.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
- รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
ข้อควรระวัง :    ควรระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
อาการไม่พึงประสงค์ :    ท้องเสีย มวนท้อง
การเก็บรักษายา:     
-  เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
-   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส เช่น เก็บในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
-  ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ