ชื่อสามัญ
Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน)
รูปแบบยา
ยาผง
ยานี้ใช้สำหรับ
ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ
ใช้รักษาอาการป่วยจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่ตับ
และรักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเกิดปัญหาการหายใจ
จากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอักเสบ เป็นต้น
โดยยาจะช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง
เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจขับมูกเสมหะเหล่านั้นออกมาได้
และช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นในที่สุด
วิธีการใช้ยา
ยาผง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 ซอง (200
มิลลิกรัม) 2-3 ครั้ง/วัน
เด็กอายุมากกว่า 6 ปี รับประทานครั้งละ 1 ซอง
(100 มิลลิกรัม) 2-4 ครั้ง/วัน
ขนาดยาที่แนะนำ
ละลายผงยาด้วยน้ำปริมาณครึ่งแก้ว ก่อนรับประทาน โดยให้รับประทานพร้อมอาหาร
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ
1. หากเคยมีอาการแพ้ยาชนิดนี้
หรือแพ้สารประกอบใด ๆ ที่เป็นส่วนผสมในยาชนิดนี้ ห้ามใช้ยา Acetylcysteine เด็ดขาด
และควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
2. หากผู้ป่วยเคยมีอาการแพ้ยา
แพ้อาหาร หรือแพ้สารชนิดใดอยู่ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา
เพราะส่วนประกอบของยาอาจมีสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการแพ้ได้
3. ก่อนใช้ยา
ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติทางการแพทย์ที่สำคัญ โดยเฉพาะอาการป่วยด้วยหอบหืด
หรือมีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
4. ในผู้ป่วยตั้งครรภ์
แพทย์ต้องพิจารณาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ยาโดยปรึกษาพูดคุยกับผู้ป่วยก่อนการใช้ยา
หากผู้ป่วยกำลังอยู่ในภาวะที่ต้องให้นมบุตร
ควรแจ้งให้แพทย์ทราบและปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
เนื่องจากยังไม่มีผลการทดสอบที่ชัดเจนว่ายาจะซึมผ่านน้ำนมไปเกิดผลกระทบต่อเด็กทารกหรือไม่
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาในรอบเวลาหนึ่ง
ให้รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากใกล้ถึงช่วงเวลาในการรับประทานยารอบถัดไป
ให้ข้ามยารอบนี้แล้วรับประทานยาของรอบใหม่แทน โดยใช้ยาตามปริมาณปกติ
ไม่เพิ่มปริมาณยา ไม่รับประทานยาเกินประมาณที่กำหนดในแต่ละครั้ง
อาการอันไม่พึงประสงค์ทั่วไป
ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เผชิญกับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้
Acetylcysteine แต่อย่างใด หรืออาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพียงเล็กน้อย
โดยอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้ที่อาจพบ ได้แก่
1.
เป็นหวัด น้ำมูกไหล
2.
ผิวหนังเนื้อตัวเย็นชืด
3.
ง่วงนอน
4.
มีไข้
5.
มีอาการอักเสบระคายเคืองบริเวณปาก หรือ ลิ้น
6.
คลื่นไส้ อาเจียน
แม้อาจพบผลข้างเคียงเป็นอาการป่วยเพียงเล็กน้อยข้างต้น
แต่หากอาการดังกล่าวไม่ทุเลาลง ยังคงป่วยอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง
หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการต่อไป
อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีผื่นลมพิษขึ้นที่ผิวหนัง หน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวม หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
การเก็บรักษายา
1.
เก็บไว้ในภาชนะบรรจุเดิมตามที่ได้รับมาเก็บยาในที่แห้ง
ควรเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา
เซลเซียส ไม่ควรเก็บยาในที่ร้อนหรือชื้น
เช่น ในรถห้องน้ำ ห้องครัว
2.
เก็บให้พ้นสายตาและมือเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น